วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ลายสือไทย

กำเนิดภาษาไทย ( ลายสือไทย )

      ในอดีตนั้นภาษาและตัวหนังสือของคนไทยได้รับอิทธิพลมาจากมอญและขอม ซึ่งมีความเจริญมาจากชาติอื่นในสุวรรณภูมิ ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงประกาศอิสรภาพจากขอม จึงเลิกใช้ขนบประเพณีแบบขอม และเลิกใช้ภาษาขอมในทางราชการ     เปลี่ยนเป็นภาษาไทยแทน แต่ยังคงเขียนด้วยภาษาขอมหวัด
       ในปีพ.ศ.๑๘๒๖พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันประดิษฐ์
อักษรไทยขึ้น เรียกว่า ลายสือไทย



รูปแบบลายสือไทย


ลักษณะของลายสือไทย

            มีผู้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับลายสือไทยต่างๆกัน บ้างก็ว่ามาจากอักษรปัลลวะ อักษรมอญ
และอักษรขอม     ซึ่งพระองค์คงจะเอาเลือกเอาลักษณะของตัวอักษรที่สะดวกแก่การเขียนมากที่สุด
มาดัดแปลงเป็นอักษรไทย ดังนี้

             - รูปพยัญชนะส่วนใหญ่นั้นดัดแปลงมาจากอักษรขอม บางส่วนก็มาจากปัลลวะ และมอญ

             - รูปสระนั้นดัดแปลงมาจากอักษรขอม มีครบทุกเสียงในภาษาไทย

             - รูปวรรณยุกต์คิดขึ้นใหม่ทั้งหมด มี ๒ รูป คือ ไม้เอก และไม้โท

             - ตัวเลขนั้นดัดแปลงมาจากตัวเลขขอม

             คุณลักษณะพิเศษของลายสือไทย คือ ความสูงต่ำของตัวอักษรนั้นเสมอกันและวางรูป

พยัญชนะและสระทุกตัวไว้ในบรรทัดเดียวกัน ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ รูปอักษรมีมากพอ

รูปอักษรส่วนมากเป็นเส้นเดียวกันตลอด ทำให้้เขียนง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องยกปากกา
การเปลี่ยนแปลงอักษรของพ่อขุนรามคำแหง


             ในรัชกาลพญาลิไท ( พ.ศ. ๑๙๐๐ ) การเขียนตัวอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

หลายประการ เช่น

             - รูปสระ อิ อี อื อยู่บนพยัญชนะ อุ อู อยู่ล่าง

             - รูปสระ ใ ไ โ สูงขึ้นเกินพยัญชนะ

             - เริ่มใช้ไม้หันอากาศบ้าง แต่ยังไม่ใช้ทั่วไป

             - ตัว ญ เขียนเช่นเดียวกับปัจจุบัน

             - เพิ่มตัว ฤา ฦา

             ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑)ได้มีการเปลี่ยนแปลง  

 ลักษณะอักษรและอักขระวิธี ดังนี้

             - ใช้ไม้หันอากาศโดยทั่วไป

             - สระเอีย ใช้เช่นเดียวกับปัจจุบัน ทั้งแบบมีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด

             - สระอือ สระออ เมื่อไม่มีตัวสะกดใช้ อ เคียง

             - สำหรับวรรณยุกต์นั้น สันนิษฐานว่ามีครบ ๔ รูป เช่นเดียวกับปัจจุบัน ดัังหลักฐานที่ปรากฏใ
นหนังสือจินดามณีซึ่งแต่งในรัชกาลนี้

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น