วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นางในวรรณคดี



















ไตรยางค์


ไตรยางค์
    
        ไตรยางค์  คืออักษร ๓ หมู่ ซึ่งจัดแยกออกมาเป็นพวก ๆ จากพยัญชนะ ๔๔ ตัว ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ

อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลาง มี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ 
อักษรสูง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก และ วรรณยุกต์ โท คำเป็นผันได้ ๓ คำ คำตายผันได้ ๒ คำดังนี้ 
       1. คำเป็น- พื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา  เช่น ขา ขง ขน ผันด้วยวรรณยุกต์เอก เป็นเสียงเอก  เช่น ข่า ข่ง ข่นผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้า ข้ง ข้น
       2. คำตาย- พื้นเสียงเป็นเสียงเอก  เช่น ขะ ขก ขด   ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงโท เช่น ข้ะ ข้ก ข้ด



อักษรกลาง ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ ตรี วรรณยุกต์จัตวา คำเป็นผันได้ ๕ คำ คำตายผันได้ ๔ คำ 
        1. คำเป็น- พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ 
        2. คำตาย- พื้นเสียงเป็นเสียงเอก  เช่น กบ กาก กาด กาบ

อักษรต่ำ ผันด้วยวรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท คำเป็นผันได้ ๓ คำดังนี้
         1. คำเป็น- พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ เช่น คา คง คน คม เคย คาว  
ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่า ค่ง ค่น ค่ม เค่ย ค่าว  
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้า ค้ง ค้น ค้ม เค้ย ค้าว  
         2. คำตาย- ผันได้ ๓ คำ ใช้วรรณยุกต์ เอก วรรณยุกต์ โท วรรณยุกต์ จัตวา แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ดังนี้ 
              2.1 คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นตรี  เช่น คะ คก คด คบ      
ผันด้วยวรรณยุกต์เอกเป็นเสียงโท เช่น ค่ะ ค่ก ค่ด ค่บ      
              2.2 คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นโท  เช่น คาก คาด คาบ        
ผันด้วยวรรณยุกต์โทเป็นเสียงตรี เช่น ค้าก ค้าด ค้าบ

ลายสือไทย

กำเนิดภาษาไทย ( ลายสือไทย )

      ในอดีตนั้นภาษาและตัวหนังสือของคนไทยได้รับอิทธิพลมาจากมอญและขอม ซึ่งมีความเจริญมาจากชาติอื่นในสุวรรณภูมิ ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงประกาศอิสรภาพจากขอม จึงเลิกใช้ขนบประเพณีแบบขอม และเลิกใช้ภาษาขอมในทางราชการ     เปลี่ยนเป็นภาษาไทยแทน แต่ยังคงเขียนด้วยภาษาขอมหวัด
       ในปีพ.ศ.๑๘๒๖พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันประดิษฐ์
อักษรไทยขึ้น เรียกว่า ลายสือไทย



รูปแบบลายสือไทย


ลักษณะของลายสือไทย

            มีผู้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับลายสือไทยต่างๆกัน บ้างก็ว่ามาจากอักษรปัลลวะ อักษรมอญ
และอักษรขอม     ซึ่งพระองค์คงจะเอาเลือกเอาลักษณะของตัวอักษรที่สะดวกแก่การเขียนมากที่สุด
มาดัดแปลงเป็นอักษรไทย ดังนี้

             - รูปพยัญชนะส่วนใหญ่นั้นดัดแปลงมาจากอักษรขอม บางส่วนก็มาจากปัลลวะ และมอญ

             - รูปสระนั้นดัดแปลงมาจากอักษรขอม มีครบทุกเสียงในภาษาไทย

             - รูปวรรณยุกต์คิดขึ้นใหม่ทั้งหมด มี ๒ รูป คือ ไม้เอก และไม้โท

             - ตัวเลขนั้นดัดแปลงมาจากตัวเลขขอม

             คุณลักษณะพิเศษของลายสือไทย คือ ความสูงต่ำของตัวอักษรนั้นเสมอกันและวางรูป

พยัญชนะและสระทุกตัวไว้ในบรรทัดเดียวกัน ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ รูปอักษรมีมากพอ

รูปอักษรส่วนมากเป็นเส้นเดียวกันตลอด ทำให้้เขียนง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องยกปากกา
การเปลี่ยนแปลงอักษรของพ่อขุนรามคำแหง


             ในรัชกาลพญาลิไท ( พ.ศ. ๑๙๐๐ ) การเขียนตัวอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

หลายประการ เช่น

             - รูปสระ อิ อี อื อยู่บนพยัญชนะ อุ อู อยู่ล่าง

             - รูปสระ ใ ไ โ สูงขึ้นเกินพยัญชนะ

             - เริ่มใช้ไม้หันอากาศบ้าง แต่ยังไม่ใช้ทั่วไป

             - ตัว ญ เขียนเช่นเดียวกับปัจจุบัน

             - เพิ่มตัว ฤา ฦา

             ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑)ได้มีการเปลี่ยนแปลง  

 ลักษณะอักษรและอักขระวิธี ดังนี้

             - ใช้ไม้หันอากาศโดยทั่วไป

             - สระเอีย ใช้เช่นเดียวกับปัจจุบัน ทั้งแบบมีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด

             - สระอือ สระออ เมื่อไม่มีตัวสะกดใช้ อ เคียง

             - สำหรับวรรณยุกต์นั้น สันนิษฐานว่ามีครบ ๔ รูป เช่นเดียวกับปัจจุบัน ดัังหลักฐานที่ปรากฏใ
นหนังสือจินดามณีซึ่งแต่งในรัชกาลนี้

 


เพลงในวรรณคดี

1. บุษบาเสี่ยงเทียน จากวรรณคดีเรื่องอิเหนา ตอนบุษบาไปไหว้พระที่ภูเขาวิลิศมาหรา

เพลงบุษบาเสี่ยงเทียน

เทียนจุดเวียนพระพุทธา ตัวข้าบุษบาขออธิษฐาน
เทียนที่เวียนนมัสการบันดาลให้ หทัยสมปรารถนา
ดลจิตอิเหนา ให้เขามารักข้า
ขอองค์พระปฏิมาเมตตาช่วยคิดอุ้มชู
ขอเทียนที่เวียนวนดลฤทัยสิงสู่
ให้องค์ระเด่นเอ็นดูอย่าได้รู้คลายคลอน
อ้า องค์พระพุทธาตัวข้าบุษบาขอกราบวิงวอน
ข้าสวดมนต์ขอพระพรวิงวอนให้หทัยระเด่นปรานี
รักอย่าเคลือบแฝงดังแสงเทียนริบหรี่
ขอองค์ระเด่นมนตรีโปรดมีจิตนึกเมตตา
ขอเทียนที่เสี่ยงทายดลให้คนรักข้า
รักเพียงแต่บุษบา ดั่งข้านี้ตั้งใจ

2. บุเรงนองลั่นกลองรบ จากวรรณคดีเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ

เพลง บุเรงนองลั่นกลองรบ  

  ทุงยาบาเล (ทุงยาบาเล) ทุงยาบาเล (ทุงยาบาเล)
* เป่าปี่ตีฆ้องย่ำกลองศึกรบจะพบคนงาม
ด้วยความแค้นใจจะหมายชิงชัยกุสุมา
สร้างเวรกรรมไว้เจ็บใจยิ่งหนอเจ้าสอพินยา
ข้าทนโศกา ข้าหมายมั่นมาบุกตะเลง
** กลองศึกรัวพลันไม่หวั่นเกรง
ฟังคล้ายเพลง กัวระช่า
สะท้านอุราแดนฟ้าเมืองแปร
(ซ้ำ **)
***บุเรงนองร้อนรุมในดวงแด
ถ้ารักข้าแพ้เป็นตายสู้กัน
เกณฑ์โยธายกมาในเร็ววัน
รับมิ่งขวัญทรามวัยกุสุมา
(ซ้ำ */**/**/***)
ทุงยาบาเล ทุงยาบาเล ทุงยาบาเล ทุงยาบาเล

3. คำมั่นสัญญา จากวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง (เนื้อความตอนท้ายดัดแปลงจากวรรณคดีบ้าง)

เพลง คำมั่นสัญญา

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร
ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน  
 แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร
ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
 แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ
พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา
เชยผกาโกสุมประทุมทอง  
แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์
จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงานนวลละออง
เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
 
4. ยอดพธูเมืองแปร ตอนต้นเป็นตอนฝากนางในเรื่องนิราศนรินทร์ ส่วนเนื้อความในเพลงจากเรื่องผู้ชนะสิบทิศ

เพลง ยอดพธูเมืองแปร

โฉมควรจักฝากฟ้า ......ฤๅดิน ดีฤๅ
เกรงเทพไท้ธรณินทร์ ..... ลอบกล้ำ
ฝากลมเลื่อนโฉมบิน ...... บนเล่า นะแม่
ลมจักชายชักช้ำ ..... ชอกเนื้อเรียมสงวน
แม่ยอดพธูเมืองแปร ช่างสวยแท้งามเด่น
งามเหมือนหนึ่งจันทร์เพ็ญ สมเป็นยอดนารี
พี่อยากยลโฉมเจ้า หลงรักเฝ้านิยม
แต่ต้องตรมไม่สมฤดี หรือบุญพี่จะมีไม่ถึง
เจ้าหลับเอนกายสยายเกศา ยั่วอุราให้ข้าตะลึง
อกแม่งอนเต่งตึง งามประหนึ่งอุบล
แม้ยามห่างน้องหมองหม่น จะฝากหน้ามนพี่ขัดสนจนใจ
โฉมเอยแม่งามเลิศลักขณา หรือจะลองฝากฟ้า ข้ากลัวจะเหลิงไป
จะลอยโพยม พระพรหมท่านจะคลั่งไคล้ใครเล่าจะแล
พี่ฝากกับใครใจหวง ไม่เหมือนดังดวงใจแม่ รักแท้คงเมตตา
เออหรือลองฝากกับท้องคงคา พี่คิดยิ่งพาหมองไหม้ไม่อยากให้ใครกล้ำกราย
พี่ห่วงดวงใจ หลงใหลงมงาย รักไม่คลายเพียงหนึ่งน้องนางเดียว

 5. เพลง ที่รัก จากเรื่องจันทโครพ ตอนจันทโครพตัดพ้อนางโมราว่า " น้ำใจนางเหมือนน้ำค้างบนไพรพฤกษ์ เมื่อยามดึกดังจะรองเข้าดื่มได้ ครั้นรุ่งแสงสุรีย์ฉายก็หายไป เพิ่งเห็นใจเสียเมื่อใจจะขาดรอน "

เพลง ที่รัก
 
 นานแล้วที่หลงพะวงมิหน่าย
นานแล้วที่ี่หมายจะได้ภิรมย์
นานแล้วที่รักคอยจักชื่นชม
นานแล้ว รักเพียงลมลม ตรมเช้าค่ำ
ที่รักนะรักแต่ใจมิกล้า
ที่ช้านะช้า มิกล้าเผยคำ
ที่คิดนะคิด กลัวอกจะช้ำ
เอ่ย คำแล้วเจ้าจะทำช้ำใจ
อย่าเหมือนน้ำค้างพราวพร่างใบพฤกษ์
พอยามดึกเหมือนดังจะดื่ม กิน ได้

พอรุ่งรางก็จางหายไป
รู้แน่แก่ใจได้แต่ระทมชีวี
ที่รักนะรักเพราะเทพเสริมส่ง
ที่หลงนะหลงเพราะเจ้าแสนดี
ที่หวงนะหวง เพราะสวยอย่างนี้
กลัวใครเขามาแย่งพี่ไปเชย

 6. เพลงลาวดวงเดือน พระนิพนธ์ ในกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม

เพลงลาวดวงเดือน
โอ้ละหนอดวงเดือนเอย พี่มาเว้ารักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอพี่ขอลาล่วง อกพี่เป็นห่วงรักเจ้าดวงเดือนเอย
ขอลาแล้วเจ้าแก้วโกสุม พี่นี้รักเจ้าหนอขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย จะหาไหนมาเทียมโอ้เจ้าดวงเดือนเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้ หอมกลิ่นคล้ายคล้ายเจ้าสูของเรียมเอย (ซ้ำ)
หอมกลิ่นกรุ่นครันหอมนั้นยังบ่เลยเนื้อหอมทรามเชยเอยเราละเหนอ
7. เพลงเกิดมาพึ่งกัน จากกฤษณาสอนน้องคำฉันท์

เพลง เกิดมาพึ่งกัน
เกิดเป็นคนอย่าเห็นแก่ตน.........แหละดี
ถึงจะมี ร่ำรวย สุขสันต์.........จนหรือมี ไม่เป็นที่สำคัญ
แม้รักกัน พึ่งพา.........อย่าไปตัดไมตรี
เกิดมาพึ่งกัน ผิวพรรณ.........ใช่แบ่งศักดิ์ศรี
วันนี้เราอยู่.........คิดดูให้ดี
ถึงจะจน จะมี.........อย่าไปสร้างเวรกรรม
ขืนทำชั่วไป.........อาจต้องใช้กรรมเวร
อย่างมงายโลภหลง.........เพราะคงจะเกิดลำเค็ญ
สร้างบุญพระท่านคงเห็น.........ร่มเย็น พ้นความกังวล
ถึงวิบัติขัดสน ผลบุญนำให้ .........ศีลธรรมมั่นใจ
ไม่ต้องไปกังวล.........ถึงจะมีจะจนจะเกิดกุศลดลใจ 
พฤษภกาสร        อีกกุญชรอันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง         สำคัญหมายในกายมี
นรชาติวางวาย        มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
สถิตทั่วแต่ชั่วดี     ประดับไว้ในโลกา

นิทานไทยไทย

"แก้วหน้าม้า"
       
          สาวสวยคนหนึ่งที่มีหน้าเป็นม้า (สวยแบบม้า) ที่ชื่อว่าแก้ว ใครๆ ได้เห็นพากันหัวเราะเยาะที่แก้วมีหน้าเป็นม้า สร้างความเสียหายให้กับแก้วมาก มีแต่พวกม้าที่เข้าใจแก้วแม่ปลอบแก้วว่าความสวยงามไม่ได้อยู่ที่หน้าตา แต่อยู่ในจิตใจมากกว่า ถ้าแก้วหมั่นทำความดี ทุกคนจะเห็นความงามของแก้ว
          ณ เมืองมิถิลา ท้าวภูวดลกับพระนางนันทาครองเมืองมีโอรสชื่อ พระปิ่นทอง ที่ดื้อมากจนพี่เลี้ยงต่างพากันเอือมระอา
          ท้าวภูวดลกับมเหสีหนักใจมากกับโอรสจอมซน พระปิ่นทองมาขอออกไปเล่นว่าวนอกวังและรับปากว่าจะไม่ทำเรื่องเดือดร้อนอีก ท้าวภูวดลจึงให้ไปพร้อมทั้งให้ทหารตามเสด็จมากมาย พระปิ่นออกไปเล่นว่าวนอกวังใกล้ๆกับหมู่บ้านแก้ว ขณะที่แก้วออกไปช่วยแม่เลี้ยงม้า เทวดาเห็นว่าพระปิ่นทองกับแก้วเป็นเนื้อคู่ จึงหาทางให้ทั้งสองได้พบกัน ขณะที่พระปิ่นทองกำลังเล่นว่าว เทวดาก็เนรมิตลมตีว่าวพัดหลุดลอยออกไป
         พระปิ่นทองรีบวิ่งตามว่าวที่ลอยออกไป ว่าวตกลงมาบริเวณที่แก้วเลี้ยงม้า แก้วจึงเก็บไว้ พระปิ่นทองเข้ามาขอว่าวคืนพร้อมทั้งพุดจาดูถูกแก้วที่ริอ่านมาเก็บว่าวของตน แก้วเลยไม่ยอมให้ พระปิ่นทองให้ทหารวิ่งตามว่าคืนมาจากแก้ว แก้วรีบนำว่าววิ่งหนีไป พวกทหารตามไป 2-3 คน คือนายสุขกับนายตุ่ย (ใช้กำลังโวยวาย)
         พวกม้าเห็นท่าไม่ดีเลยช่วยแก้วเอาไว้ให้หนีพวกทหารได้ ทุกคนสะบักสะบอม พระปิ่นทองเห็นท่าไม่ดีจึงนึกอุบายขึ้นมาได้ พระปิ่นทองของเจรจากับแก้ว ว่าจะให้แก้วแหวนเงินทองแต่แก้วไม่สนใจ พระปิ่นทองเลยโกหกว่าให้ว่าวจะรับเป็นมเหสี แก้วดีใจมากรีบคืนว่าวไป


          ปิ่นทองยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ บอกกับทหารคนสนิทว่าหลอกเล่น แก้วกลับมาบ้าน บอกแม่ว่าจะไปเป็นมเหสี พ่อแม่ไม่มีใครเชื่อ แก้วนั่งฝันว่าจะได้เข้าไปเป็นมเหสีในวัง องค์รักษ์แอบมารายงานว่าพระปิ่นทองสัญญาอะไรเอาไว้ ท้าวภูวดลให้นายสุขเก็บเรื่องนี้เป็นความลับเพราะกลัวว่าพระนางนันทาจะรู้และ จะต้องรักษาสัญญา
         แก้วรอให้พระปิ่นทองมารับเป็นมเหสี แต่ก็ไม่มาจนผ่ายผอม พ่อกับแม่เริ่มเชื่อ เลยสอบถามชาวบ้านได้ความว่าพระปิ่นทองพูดจริง นางนิ่มกับนายมั่นตัดสินใจพาแก้วเข้าวังเพื่อทวงสัญญา สามแม่ลูกจึงได้เข้ามาอยู่ในวัง ท้าวภูวดลทราบเรื่องจึงกริ้วมาก สั่งประหารสามแม่ลูก

            พระนางนันทามาพอดีจึงสอบถามเรื่องราวจนทราบเรื่องและ บอกให้ท้าวภูวดลรักษาสัญญาถ้าพระปิ่นทองพูดจริงต้องรักษาสัญญา พระปิ่นทองบอกว่าพูดเล่นไม่สนใจ ท้าวภูวดลรู้เข้าจึงต้องยอมรักษาสัญญา พระปิ่นทองตกใจมาก จำต้องรักษาสัญญาด้วยการไปรับแก้วเข้าวัง แก้วเล่นตัวไม่ยอมเข้าวัง ถ้าไม่มีวอมารับ
          พระปิ่นทองจำต้องส่งวอมารับ แก้วนั่งวอเข้าวังด้วยความยินดีของชาวบ้าน พิธีอภิเษกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ พระปิ่นทองอับอายมาก พระนางนันทาเห็นแก้วก็รู้สึกเอ็นดู จัดห้องหับให้แก้ว พระปิ่นทองทำท่ารังเกียจไม่ยอมออกมาพบกับแก้ว ทำให้แก้วไม่พอใจมาก


แก้วจึงต้องบุกเข้าไปหาพระปิ่นทองเอง สร้างความชุลมุนวุ่นวายทั่งทั้งวัง พระปิ่นทองต้องสั่งให้มีเวรยามเฝ้าไม่ให้แก้วหน้าม้าออกมาอาละอาด ท้าวภูวดลรู้เข้าก็อับอาย จึงคิดอุบายหาทางกลั่นแกล้งแก้ว

ท้าวภูวดลหาทางแกล้งแก้วด้วยการให้ไปยกเขาพระสุเมรุให้ได้ภายในเจ็ดวัน ถ้ายกไม่ได้จะถูกประหาร แก้วตกใจมาก แก้วออกเดินทางไป ตามหาเขาพระสุเมรุ แก้วเข้าไปในป่าแล้วอธิษฐานว่าตนเป็น เนื้อคู่พระปิ่นทองขอให้พบเขาพระสุเมรุ แก้วเดินทางไปเจอสัตว์ร้ายในป่าที่จ้องจะมาทำร้าย


           ก่อนที่แก้วจะถูกทำร้าย ฤาษีมาพบเข้าและช่วยไว้ พระฤาษีเมื่อได้ทราบเรื่องราวจึงช่วยถอดหน้าม้าให้กลายเป็นสาวสวย พร้อมเสกเรือเหาะและมีดอีโต้วิเศษให้เป็นอาวุธ นางแก้วกราบลาพระฤาษีพร้อมสวมหน้าม้าดังเดิม นั่งเรือเหาะไปจนเจอ เขาพระสุเมรุ
           แก้วกำลังจะไปยกเขาพระสุเมรุ ก็พบยักษ์เฝ้าอยู่ ยักษ์บอกว่าแก้วต้องแก้ปริศนาให้ได้ก่อน จึงจะตัดขาไปได้ พร้อมกับให้ปริศนาสามข้อ แก้วคิดปริศนาไม่ออก เลยฉวยโอกาสยักษ์เผลอ ตัดเขาเหาะหนีไปเลย
           แก้วเหาะแบกเขามาจนถึงเมืองมิถิลา ชาวบ้านพากันแตกตื่น เมื่อเห้นเขาลอยมาทั้งลูก ท้าวภูวดลมั่นใจว่าแก้วต้องถูกประหารแน่ๆ แต่แก้วก็ต้องผิดหวังเมื่อแก้วยกเขามาได้ ท้าวภูวดลแค้นใจ จึงหาทางเลี่ยงสัญญาด้วยการให้พระปิ่นทองหนีออกประภาสต่างเมือง และหาทางกลั่นแกล้งแก้วอีก


ก่อนออกเดินทางพระปิ่นทองสั่งนางแก้วว่าถ้ากลับมานางยังไม่มีลูกจะต้อง ถูกปรหาร แก้วคิดหาวิธีมีลูกกับพระปิ่นทอง แก้วคิดอะไรได้ นางแก้วจึงนั่งเรือเหาะไปดักรอพระปิ่นทองระหว่างทางพร้อมทั้งถอดหน้าม้าออก พระปิ่นทองได้เจอแก้วที่ถอดรูปแล้ว ถึงกับตะลึงงัน


พระปิ่นทองได้เห็นงานแก้วจึงนึกรัก สั่งให้ทหารตามมาพบ พระปิ่นทองขอแก้วเป็นชายา แก้วถามถึงมเหสีพระปิ่นทองบอกว่ามีหน้าเป็นม้า น่าเกลียด แก้วรู้สึกไม่พอใจ จึงหาทางกลั่นแกล้งพระปิ่นทองจนพอใจ แก้วยอมอยู่กินกับพระปิ่นทอง


แก้วเริ่มตั้งครรภ์ พระปิ่นทองขอให้แก้วกลับไปอยู่ในวังด้วยกัน แก้วหาข้ออ้างไม่ไป พระปิ่ทองจึงให้แหวนไว้ เพื่อมอบให้ลูกที่กำลังจะเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นหลักฐานว่าเป็นลูกตน พระปิ่นทองกลับเมือง แก้วรีบตามไปดักหน้า แก้วมาถึงวังก่อนพระปิ่นทอง รีบเตรียมตัวต้อนรับ


พระปิ่นทองกลับมา นางแก้วแกล้งถามว่าไปเจอสาวที่ไหนมาหรือเปล่า พระปิ่นทองรีบโกหกว่าไม่เจอใคร พร้อมทวงสัญญาว่าแก้วจะต้องตั้งครรภ์ แก้วรีบแสดงตัวว่าตั้งครรภ์ สร้างความดีใจให้กับพระนางนันทา พระปิ่นทองไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป จึงคิดหนีไปต่างเมืองโดยไม่ยอมให้แก้วไปด้วย


พระปิ่นทองถูกพวกยักษ์เล่นงานจับตัวเอาไว้ ฝ่ายนางแก้วได้คลอดลูกออกมาเป็นชาย นางแก้วคิดจะไปหาพระปิ่นทองจึงได้ฝากลูกไว้กับฤาษีระหว่างทางที่ผ่าน ฤาษีตั้งชื่อให้เด็กว่า "พระปิ่นแก้ว" พระปิ่นทองหายไป สร้างความเป็นห่วงให้ท้าวภูวดลและมเหสีเป็นอันมาก แก้วรู้เข้ารู้สึกเป็นห่วง แก้วไปถามฤาษี ฤาษีทราบด้วยญาณว่า พระปิ่นทองตกอยู่ในอันตรายจึงบอกนางแก้ว นางแก้วจึงนั่งเรือเหาะไปช่วยพระปิ่นทอง โดยไม่ให้พระองค์รู้ แก้วจึงแปลงตัวเป็นชาย พระปิ่นทองถูกจับตัวไปให้ท้าวพาลราชกิน แต่แก้วได้แปลงตัวเป็นชายเข้ามาช่วย


แก้วต่อสู้กับท้าวพาลราช แก้วฆ่าท้าวพาลราชตาย พวกยักษ์ที่เหลือต่างพากันยอมสยบ


แก้วบอกให้พวกยักษ์ยกให้พระปิ่นทองครองเมืองแทนมิฉะนั้นจะพังเมือง พวกยักษ์หลงเชื่อจนยอมตาม พระปิ่นทองทำท่าจะสนใจลูกสาวยักษ์สองคนคือ เจ้าหญิงสร้อยสุวรรณและเจ้าหญิงจันทร แก้วรู้เข้าจึงรีบไปตีสนิท และพาไปหาฤาษี แก้วพาสองเจ้าหญิงมาหาฤาษีและบอกเรื่องราวที่แท้จริงว่าตนเป็นใคร


เจ้าหญิงทั้งสองได้รู้เรื่องราวของแก้ว และสัญญาจะเก็บเป็นความลับ ก่อนที่จะกลับไปสู่เมืองยักษ์ แก้วพาสองธิดากลับมายกให้พระปิ่นทอง พระปิ่นทองเริ่มคิดถึงบ้าน จึงชวนสองธิดายักษ์กลับเมืองมิถิลา แก้วรู้เข้ารีบสวมหน้าม้าขึ้นเรือเหาะไปดักหน้า


แก้วมารอพระปิ่นทองพร้อมกับอุ้มลูกที่ฤาษีตั้งชื่อไว้ว่าพระปิ่นแก้ว พระปิ่นทองหาว่าแก้วหลอกว่าเป็นลูกตนแต่เมื่อเห็นแหวนที่ตนให้ไว้ก็พูดไม่ออก กล่าวถึงท้าวกายมาต ที่เป็นญาติกับท้าวพาลราชที่ถูกแห้วสังหาร เมื่อทราบเรื่องก็เกิดความแค้นยกไพร่พลยักษ์มาล้อมเมืองมิถิลา


พระปิ่นทองทำอะไรไม่ถูก คิดแต่ว่าจะต้องเสียเมืองให้ยักษ์แน่นอน ธิดายักษ์ทั้งสองกลัวว่าพระปิ่นทองจะพ่ายแพ้แก่ยักษ์ จึงบอกความจริงว่าแก้วคือใคร พระปิ่นทองไปงอนง้อให้แก้วมาช่วย แต่แก้วไม่ยอม


พวกยักษ์เริ่มบุกเมือง แก้วเป็นห่วงบ้านเมืองและพระนางนันทา จึงได้แปลงกายเป็นชายออกสู้กับยักษ์ทันที แก้วสู้กับท้าวกายมาต แต่อีโต้วิเศษทำอะไรไม่ได้ แก้วกำลังจะเสียทีท้าวกายมาต

แก้วเหาะข้ามหัวทำให้มนต์ยักษ์เสื่อม และฆ่าท้าวกายมาตได้สำเร็จ ท่ามกลางความยินดีของชาวมิถิลา พระปิ่นทองเริ่มสงสัยว่า ชายหนุ่มที่มาช่วยต้องเป็นแก้วแน่ๆ


พระปิ่นทองตามไปงอนง้อนางแก้ว แต่แก้วก็ยังเล่นตัว จนพระปิ่นทองทำท่าจะเชือดคอตายแก้วจึงยอมถอดหน้าม้า สร้างยินดีให้กับทุกคน พิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นอย่างเอิกเกริก ไม่นานแก้วก็ตั้งครรภ์ ท้าวประกายกรดรู้ข่าวท้าวประกายมาตถูกฆ่าตายก็แค้น คิดจะบุกเมืองมิถิลา


ท้าวประกายกรดบุกเมืองมิถิลา ประชาชนแตกตื่นกันทั่ว พระปิ่นแก้วยกทัพไปสู้กับพวกยักษ์แต่สู้ไม่ได้ ต้องถอยร่น แก้วจำต้องออกไปสู้กับยักษ์ ทั้งๆที่ตั้งครรภ์ แก้วที่ท้องแก่สู้กับท้าวประกายกรด ถูกท้าวประกายกรดถีบ แก้วเจ็บท้อง คลอดพระธิดาออกมา 3 องค์ ท้าวประกายกรดตกใจมากที่รู้ว่าแก้วเป็นหญิง

แก้วใช้ผ้าเปื้อนเลือดฟาดเข้าใส่ ทำให้มนต์ยักษ์เสื่อม ท้าวประกายกรดถูกฆ่าตาย เมืองมิถิลากลับสู่ความสงบตั้งแต่นั้นมา

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทำไม....จึงเลือกเรียนสาขาภาษาไทย

   
     
      เหตุผลที่เลือกเรียนสาขาภาษาไทย  เนื่องจาก เป็นวิชาที่ชอบและน่าสนใจ  ซึ่งการเรียนในสาขานี้ทำให้ดิฉันได้เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภาษาไทยด้วยค่ะ



                                                                                                            

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มารู้จัก...วันภาษาไทย

     
                         

        ประวัติวันภาษาไทย
                            
    วันภาษา ไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปราย ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ หอประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ในงานวันกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสฯทรงเปิด อภิปรายในหัวข้อเรื่อง “ปัญหาการใช้คำไทย” และได้ทรงแสดงความห่วงใยการใช้ภาษาไทยดังความตอนหนึ่ง จากกระแสพระราชดำรัสที่พระราชทานในการทรงร่วมอภิปรายเรื่องปัญหาการใช้คำไทย ว่า “ภาษานั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นสิ่งที่สวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาเป็นของเราเอง ซึ่งต้องหวงแหน ประเทศใกล้เคียงของเราหลายประเทศมีภาษาของตนเอง แต่ว่าเขาก็ไม่ค่อยแข็งแรง เขาต้องพยายามหาทางที่จะสร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคง เราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาลจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้…”
นอก จากนี้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บัณฑิต ซึ่งแสดงความห่วงใยถึงการใช้ภาษาไทย ดังความตอนหนึ่งว่า “ในปัจจุบันนี้ ปรากฏว่า ได้มีการใช้ถ้อยคำออกจะฟุ่มเฟือยและไม่ตรงกับความหมายจริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลัก ประกัน เพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ”
และในวโรกาสวันเฉลิมพระ ชนมพรรษา ได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลที่เข้าเฝ้าถวายฯ ชัยมงคล ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังความตอนหนึ่งว่า “นอกจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของวรรณยุกต์ เสียงจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เสียงโทกลายเป็นเสียงตรี เสียงตรีกลายเป็นเสียงจัตวา เลยทำให้ฟังดูแปลก เป็นอย่างนี้ได้อย่างไร…”
ดัง นั้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย จึงเห็นชอบและมีมติให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ตามการเสนอของทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง และสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ด้านภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนให้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง